เมนู

พระอริยเจ้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาส ที่ภิกษุนั้นจะไม่พึงถึงความ
ฉินหาย 11 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่งนี้.
จบพยสนสูตรที่ 6

อรรถกถาพยสนสูตรที่ 6


พยสนสูตรที่ 6

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
การบอกคืนสิกขาบทพึงทราบว่าเกิน.
จบอรรถกถาพยสนสูตรที่ 6

7. สัญญาสูตร


ว่าด้วยพึงเป็นผู้มีสัญญาในอารมณ์ต่าง ๆ กัน


[214] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควร
ส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ พึงมีหรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมี
ความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
อาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุว่าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่า
เป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุ
เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากาสานัญจายตนะว่าเป็นอากาสา-
นัญจายตะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในวิญญานัญจายตนะว่าเป็น
วิญญานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากิญจัญญายตนะว่า
เป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในเนวสัญญานา-
สัญญายตนะว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ

สำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกหน้าว่า
เป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ครองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า พึงมีได้อานนท์ การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
อารมณ์... ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
อ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุได้สมาธิโดย
ประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์...
ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
พ. ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มีสัญญาอย่างนี้
ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความสงบแห่งสังขาร
ทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้นกำหนัด
ความดับ นิพพาน ดูก่อนอานนท์ พึงมีได้อย่างนี้แล การที่ภิกษุได้
สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็น
อารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอาโปธาตุว่าเป็นอาโปธาตุเป็นอารมณ์ ไม่
พึงมีความสำคัญในเตโชธาตุว่าเป็นเตโชธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในวาโยธาตุว่าเป็นวาโยธาตุเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในอากา-
สานัญจายตนะว่าเป็นอากาสานัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญ
ในวิญญาณัญจายตนะว่าเป็นวิญญาณัญจายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความ
สำคัญในอากิญจัญญายตนะว่าเป็นอากิญจัญญายตนะเป็นอารมณ์ ไม่พึงมี
ความสำคัญในเนวสัญญานาสัญญายตนะ ว่าเป็นเนวสัญญานาสัญญายตนะ

เป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญในโลกนี้ว่าเป็นโลกนี้เป็นอารมณ์ ไม่พึงมี
ความสำคัญในโลกหน้าว่าเป็นโลกหน้าเป็นอารมณ์ ไม่พึงมีความสำคัญใน
รูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่
แสวงหาแล้ว ที่ครองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ชื่นชมอนุโมทนาภาษิตของพระผู้มี-
พระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทำ
ประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัย
กับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว
นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูก่อน
ท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประ-
การที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ
ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรม
ที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึง
เป็นผู้มีสัญญา.
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้
การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุว่า
เป็นปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่
ได้ยิน อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรอง
ตามแล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
อา. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างไรเล่า การที่ภิกษุ
ได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญใน ปฐวีธาตุว่าเป็นปฐวีธาตุ
เป็นอารมณ ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน

อารมณ์ที่ทราบ. . . ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตาม
แล้วด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
สา. ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้
มีสัญญาอย่างนี้ว่า ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ความ
สงบสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสิ้น
กำหนด ความดับ นิพพาน ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ พึงมีได้อย่างนี้แล
การที่ภิกษุได้สมาธิ โดยประการที่ตนไม่พึงมีความสำคัญในปฐวีธาตุเป็น
ปฐวีธาตุเป็นอารมณ์ ฯลฯ ไม่พึงมีความสำคัญในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน
อารมณ์ที่ทราบ ธรรมที่รู้แจ้ง ที่ถึงแล้ว ที่แสวงหาแล้ว ที่ตรองตามแล้ว
ด้วยใจ ก็แต่ว่าพึงเป็นผู้มีสัญญา.
อา. ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การ
ที่อรรถกับอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของสาวก
เปรียบเทียบได้กัน เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศ ดูก่อนท่านสารีบุตร
ผู้มีอายุ เมื่อกี้นี้กระผมเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทูลถามเนื้อความ
อันนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ทรงพยากรณ์เนื้อความอันนี้ ด้วยบทเหล่านี้
ด้วยพยัญชนะเหล่านี้แก่กระผม เหมือนที่ท่านพระสารีบุตรพยากรณ์
ดูก่อนท่านสารีบุตรผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว การที่อรรถ
กันอรรถ พยัญชนะกับพยัญชนะ ของพระศาสดาและของพระสาวก
เปรียบเทียบกันได้ เสมอกัน ไม่ผิดกัน ในบทที่เลิศนี้.
จบสัญญาสูตรที่ 7

อรรถกถาสัญญาสูตรที่ 7


สัญญาสูตรที่ 7

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
รูปารมณ์ อันจักขุวิญญาณเห็นแล้วเป็นต้น. บทว่า อตฺเถน อตฺโถ
ได้แก่ อรรถกับอรรถ. บทว่า พฺยญฺชเนน พฺยญฺชนํ ได้แก่ พยัญชนะ
กับพยัญชนะ. บทว่า สํสนฺทิสฺสติ แปลว่า จักเป็นไปกันได้. บทว่า
สเมสฺสติ แปลว่า จักเสมอกันได้. บทว่า น วิคฺคยฺหิสฺสติ ได้แก่ จักไม่ผิด
กัน . บทว่า อคฺคปทสฺมึ ได้แก่ ในพระนิพพาน.
จบอรรถกถาสัญญาสูตรที่ 7

8. มนสิการสูตร


ว่าด้วยกระกระทำอารมณ์ต่าง ๆ ไว้ในใจ


[215] ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วน
ข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พึงมีได้หรือหนอแล การที่ภิกษุได้สมาธิโดยประการที่ตนไม่พึงกระทำ
จักษุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำหูไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำเสียงไว้ในใจ ไม่พึงกระทำรูปไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกลิ่นไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำลิ้นไว้ในใจ ไม่พึงกระทำจมูกไว้ในใจ ไม่พึงกระทำกายไว้
ในใจ ไม่พึงกระทำโผฏฐัพพะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำปฐวีธาตุไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำอาโปธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำเตโชธาตุไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำวาโยธาตุไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากาสานัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึง
กระทำวิญญาณัญจายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำอากิญจัญญายตนะไว้ในใจ
ไม่พึงกระทำเนวสัญญานาสัญญายตนะไว้ในใจ ไม่พึงกระทำโลกนี้ไว้ในใจ